.

.

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัยเรื่อง   การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวของ Matal เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย:  นิทรา ช่อสูงเนิน

          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนว Matal มีความสามารถในด้านการจำแนกและการแก้ปัญหาแตกต่างจากกลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีความสามารถด้านการสังเกตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนว Matal ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการนำไปใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้อย่างมีคุณภาพ
            การจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวของ Matal หมายถึง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดประสบการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยพัฒนามาจากแนวการสอนวิทยาศาสตร์ตามโปรแกรมสอนวิทยาศาสตร์ Matal ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มุ่งเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child centered) ตามโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์กับกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมของประเทศอิสราเอล ซึ่งโปรแกรมนี้ประกอบไปด้วย 4 หน่วย คือ การสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว การสัมผัสและการรับรู้ รูปทรงและความสัมพันธ์ การแยกประเภทและการจัดหมวดหมู่
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปกติ หมายถึง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแผนการจัดประสบการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดแนวทางการจัดประสบการณ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้เสนอแนะไว้
ทักษะการคิด หมายถึง ความสามารถในด้านสติปัญญาของเด็กซึ่งผู้วิจัยศึกษาเฉพาะในด้านการสังเกต การจำแนก และการแก้ปัญหา
ความสามารถในการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ เพื่อรับรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น วัดได้จากแบบทดสอบความสามารถในการสังเกต จำนวน 15 ข้อ
ความสามารถในการจำแนก หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับสิ่งของโดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เด็กสร้างขึ้นเอง เกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนดให้หรือบอกได้ว่าใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง วัดได้จากแบบทดสอบวัดความสามารถในการจำแนก จำนวน 15 ข้อ
ความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถที่ได้จากกระบวนการทำงานของสมอง ซึ่งอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งวัดด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กระดับก่อนประถมศึกษาที่กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสร้างขึ้น โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนอยู่ 4 ระดับ คือ
ค่าการประเมินระดับ 3 หมายถึง คำตอบชัดเจนสอดคล้องกับสถานการณ์และมีความเป็นไปได้ ตอบอย่างมีเหตุผล เหมาะสมกับความสามารถตามวัยและประสบการณ์เด็ก ใช้เวลาคิดก่อนตอบไม่เกิน 5 วินาที
ค่าการประเมินระดับ 2 หมายถึง คำตอบยังไม่ชัดเจน ต้องใช้คำถามชี้นำหรือกระตุ้นเพิ่มเติม
ค่าการประเมินระดับ 1 หมายถึง คำตอบยังไม่ชัดเจน ตอบไม่ตรงกับคำถาม ตอบแบบเดาสุ่ม
ค่าการประเมินระดับ 0 หมายถึง เงียบไม่ตอบ หรือตอบว่า ไม่รู้” “ไม่ได้

        
แนวคิด
 1. การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2. ทักษะการคิด
3. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการคิดและสติปัญญา
4. หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540
5. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น