.

.

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัยเรื่อง   การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวของ Matal เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย:  นิทรา ช่อสูงเนิน

          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนว Matal มีความสามารถในด้านการจำแนกและการแก้ปัญหาแตกต่างจากกลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีความสามารถด้านการสังเกตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนว Matal ช่วยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการนำไปใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้อย่างมีคุณภาพ
            การจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวของ Matal หมายถึง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวการจัดประสบการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยพัฒนามาจากแนวการสอนวิทยาศาสตร์ตามโปรแกรมสอนวิทยาศาสตร์ Matal ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มุ่งเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child centered) ตามโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์การสอนวิทยาศาสตร์กับกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมของประเทศอิสราเอล ซึ่งโปรแกรมนี้ประกอบไปด้วย 4 หน่วย คือ การสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว การสัมผัสและการรับรู้ รูปทรงและความสัมพันธ์ การแยกประเภทและการจัดหมวดหมู่
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบปกติ หมายถึง การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแผนการจัดประสบการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยยึดแนวทางการจัดประสบการณ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้เสนอแนะไว้
ทักษะการคิด หมายถึง ความสามารถในด้านสติปัญญาของเด็กซึ่งผู้วิจัยศึกษาเฉพาะในด้านการสังเกต การจำแนก และการแก้ปัญหา
ความสามารถในการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ เพื่อรับรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น วัดได้จากแบบทดสอบความสามารถในการสังเกต จำนวน 15 ข้อ
ความสามารถในการจำแนก หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทรับรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับสิ่งของโดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่งซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เด็กสร้างขึ้นเอง เกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนดให้หรือบอกได้ว่าใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง วัดได้จากแบบทดสอบวัดความสามารถในการจำแนก จำนวน 15 ข้อ
ความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถที่ได้จากกระบวนการทำงานของสมอง ซึ่งอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งวัดด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กระดับก่อนประถมศึกษาที่กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสร้างขึ้น โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนอยู่ 4 ระดับ คือ
ค่าการประเมินระดับ 3 หมายถึง คำตอบชัดเจนสอดคล้องกับสถานการณ์และมีความเป็นไปได้ ตอบอย่างมีเหตุผล เหมาะสมกับความสามารถตามวัยและประสบการณ์เด็ก ใช้เวลาคิดก่อนตอบไม่เกิน 5 วินาที
ค่าการประเมินระดับ 2 หมายถึง คำตอบยังไม่ชัดเจน ต้องใช้คำถามชี้นำหรือกระตุ้นเพิ่มเติม
ค่าการประเมินระดับ 1 หมายถึง คำตอบยังไม่ชัดเจน ตอบไม่ตรงกับคำถาม ตอบแบบเดาสุ่ม
ค่าการประเมินระดับ 0 หมายถึง เงียบไม่ตอบ หรือตอบว่า ไม่รู้” “ไม่ได้

        
แนวคิด
 1. การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2. ทักษะการคิด
3. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการคิดและสติปัญญา
4. หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540
5. การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากแหล่งโทรทัศน์ครู

    วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย
   การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง


การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา    คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง

study notes 16

30 September 2013



 การเรียนการสอน

  การนำเสนอการทดลอง


    - ผ้าเปลี่ยนสี =แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสาตร์ คือการเปลี่ยนแปลง

คำแนะนำจากอาจารย์

- การบอกอุปกรณ์กับเด็กควรให้เด็กเห็นภาพจิงๆและบอกความสำคัญของ  ของชิ้นนั้นว่าสามารถนำมาใช้อะไรได้บ้างเพื่อทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็ก
- การใช้ภาษาในการสื่อสารกับเด็ก
- การจัดของก่อนนำเสนอ
- กิจกรรมไม่ควรเลือกกิจกรรมที่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก

 น้ำพุในขวด = แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสาตร์ คือการเปลี่ยนแปลงของน้ำจากสีใสๆเป็นสีแดง

คำแนะนำจากอาจารย์
- ควรแยกน้ำไว้ก่อนแล้วค่อยมาเท่ใส่ขวดจะต้องมีกวยไว้ใช้สำหรับให้เด็กกรอกน้ำเองด้วยและต้องทำสัญลักษณ์ขีดเส้นไว้ที่ขวดเพื่อบอกระดับของน้ำที่จะให้เด็กเติม
- ต้องบอกให้เด็กสังเกตระหว่างหลอดสั่นอยู่ในน้ำและหลอดยาว  อยู่นอกน้ำ
-ไม่ควร นำหลอดกับฝามาให้เด็กทำเอง ครูต้องเตรียมไว้ให้เรียบร้อย

มะนาวตกน้ำ  = เกิดจากโลกมีแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างให้ตกไปในตำแหน่งเดิม  เช่นเดียวกับที่เราปัดถาดออกทำให้มะนาวตกในแก้วน้ำ

  คำแนะนำจากอาจารย์
- ต้องให้เด็กสังเกตพร้อมๆกัน
- ทำทดลองให้เด็กดูซ้ำๆ

ที่เด็ดน้ำยาล้างจาน ,พริกไทยในน้ำ  = เกิดจากแรงตึงผิว
คำแนะนำจากอาจารย์
 - การใช้ภาษาในการสื่อสารกับเด็ก  ให้ใช้คำง่ายๆในการสอนเด็ก
-ให้เด็กได้ตอบและ ให้ได้เด็กสังเกตก่อน

น้ำอัดลมฟองฟู = หลังจากการนำเกลือและน้ำตาลใส่ในกระป๋องน้ำอัดลม  ทำให้เกิดฟองฟูขึ้นมาเหมือนกันทั้ง 2กระป๋อง  จากการทดลองคือ น้ำตาลและเกลือไปไล่ลมในกระป๋องน้ำอัดลมทำให้น้ำฟูออกมาได้
คำแนะนำจากอาจารย์
-การใช้ภาษาในการสื่อสารกับเด็ก
- การจัดของก่อนนำเสนอและ การบอกอุปกรณ์กับเด็กควรให้เด็กเห็นภาพจิงๆและบอกความสำคัญของ  ของชิ้นนั้นว่าสามารถนำมาใช้อะไรได้บ้างเพื่อทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็ก

ลาวาเล็ม =เกิดจากน้ำมัน   มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในขวดและเมื่อนำยาลด กรดใส่ลงไปในขวดจึงทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นฟองอากาศ



คำแนะนำจากอาจารย์

-  ควรแยกน้ำไว้ก่อนแล้วค่อยมาเท่ใส่ขวดจะต้องมีกวยไว้ใช้สำหรับให้เด็กกรอกน้ำเองด้วยและต้องทำสัญลักษณ์ขีดเส้นไว้ที่ขวดเพื่อบอกระดับของน้ำที่จะให้เด็กเติม

ไข่ไม่แตก = สาเหตุที่ไข่ไม่แตกเพราะเกิดจากความหนาแน่นของน้ำที่หนาแน่นมากกว่าไข่แล้วทำปฏิกิริยากับเกลือ จึงทำให้ไข่ไม่แตก

คำแนะนำจากอาจารย์
ให้ใช้คำง่ายๆในการสอนเด็ก
-ให้เด็กได้ตอบและ ให้ได้เด็กสังเกตก่อน  อย่าพึ่งทดลอง

ข้อวิพากษ์โดยรวมของอาจารย์ที่ชี้แนะให้นักศึกษาในการนำเสนอ ดังนี้
  ขั้นตอนการนำเสนอการทดลองให้แก่เด็กปฐมวัย
 - แนะนำอุปกรณ์   เตรียมพื้นที่ข้างหน้าไว้วางของ โดยเรียงจากซ้ายไปขวา
- ถามเด็กๆว่า "เด็กๆคิดว่าเราสามารถนำอุปกรณ์เหล่านี้มาทำอะไรได้บ้าง (ให้เด็กตอบก่อน) เพื่อทบทวนประสบการณ์เดิมของตัวเด็กเอง
- บอกกับเด็กๆว่า " เราจะมาทดลองไปพร้อมกันน่ะค่ะ"
ถามเด็กๆว่า  "ถ้าคุณครูทำ...............นี้   เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ (ให้เด็กตอบก่อน)
-เมื่อคุณครูทดลอง  เด็กๆสังเกตดูให้ดีๆน่ะค่ะ
-เด็กๆบอกคุณครูได้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะอะไรค่ะ (ให้เด็กตอบก่อน)
-จากนั้นคุณครูจะบอกเด็กๆน่ะค่ะว่ามันเกิดอะไรขึ้น.....


เพื่อนๆส่งสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์และของเล่นเข้ามุม






study notes 15

23 September 2013


การเรียนการสอน

  -  จากคาบที่แล้วนักศึกษาได้ลงความคิดเห็นกันว่า จะทำเมนูข้าวผัดและให้เตรียมกะทะมา  ส่วนเครื่องปรุงต่างๆพื่อนกลุ่มที่นำเสนอข้าวผัดได้นำมาแจกให้เพื่อนๆ  และให้กลุ่มที่เสนอการทำข้าวผัด  มาสอนทำข้าวผัดในวันนี้



-  คุณครูจะสอนทำตามขั้นตอน และให้คำถามเชิงความคิดสร้างสรรค์ต่อเด็ก  ให้เด็กคิดไปทำไปในขณะที่ทำข้าวผัดด้วย 

จากการที่ทำข้าวผัด อาจารย์สอดแทรกวิธีการสอนดังนี้
- การเปลี่ยนแปลง ของผักที่เหี่ยวลงเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำมัน โดยให้เด็กสังเกตตามคุณครู เป็นต้น


study notes 14


16 September 2013
  
การเรียนการสอน 

ิ      อาจารย์จ๋าได้พูดเรื่องการจัดงานนิทรรศการของเล่นวิทยาศาสตร์กับนักศึกษา และอาจารย์ได้มอบการสอน  2 คาบ ให้นักศึกษาได้เรียนกับ อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน ( อ. เบียร์ )


  -  อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น  5   กลุ่ม  เพื่อที่จะเขียนแผนวิทยาศาสตร์   โดยคิดทำเมนู Cooking

กลุ่มที่  1  เมนูวุ้นมะพร้าวอร่อยเหาะ
กลุ่มที่  2  เมนูแซนวิชของหนู  (  กลุ่มดิฉัน )
กลุ่มที่  3 เมนู  Super  แกงจืด
กลุ่มที่  4  เมนูไข่ตุ๋นทรงเครื่อง
กลุ่มที่  5  เมนูข้าวผัด 

เมนูแซนวิชของหนู  (  กลุ่มดิฉัน )


อาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนการสอน




เขียนแผนการสอน








  นำเสนอแผนการสอน

 - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนจัดกิจกรรมของตัวเองจนครบทุกกลุ่มและให้เพื่อนๆ 
โหวตว่า อาทิตย์หน้าจะทำเมนูอะไรในชั้นเรียน

  -เพื่อน ๆ ได้โหวตกันว่า เมนูที่จะทำ คือ ข้าวผัด  และอาทิตย์ต้องมานำเสนอให้เพื่อนทำร่วมกัน






study notes 13

9 September 2013


*หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระราชการ*


ค้นหาเพิ่นเติม


การทดลองวิทยาศาสตร์เด็กอนุบาล

แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ & เทคนิคพ่อแม่
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    

       เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
 -ทักษะการสังเกต
- ทักษะการจำแนกประเภท
- ทักษะการวัด
 -ทักษะการสื่อความหมาย
 -ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
 -ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
- ทักษะการคำนวณ

study notes 12


2 September 2013

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ติดประชุม *

ศึกษาเพิ่มเติม

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    สื่อการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน มีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการสอนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อสื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน วัสดุการสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา เป็นต้น
    สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หรือสื่อในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เนื้อหา ที่เป็นความรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

ชนิดของสื่อการสอน

             สื่อการสอนที่ใช้ในการสอนมีหลายชนิดสำหรับเด็กปฐมวัยอาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการ นับว่าเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ได้แก่
             1. ครู
ครูเป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ในการเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
             2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ครูหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
             3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่
ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ
นอกเหนือจากนี้ สื่อดังกล่าวอาจแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้เป็น 3 ประเภทคือ
             1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น ภาพ เปลือกหอย ฯลฯ
             2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ เช่น วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
             3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม เช่น การสาธิต การทดลอง เกม

การจัดหาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
          
             ก่อนที่ครูปฐมวัยจะจัดสื่อการสอนนั้นควรคำนึงถึงสื่อที่อยู่ใกล้ตัวก่อน ซึ่งอาจเป็นสื่อของจริงชนิดต่าง ๆ หรือสื่อสำเร็จรูป ได้แก่ ตุ๊กตา หุ่นจำลอง แล้วจึงคิดต่อไปว่าสื่อชนิดใดจะจัดทำขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ประหยัดวัตถุดิบ ประหยัดเวลาและแรงงาน ได้ผลคุ้มค่า และใช้ประโยชน์ได้ตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะไม่สวยงามเท่ากับสื่อที่จัดทำขึ้นด้วยเครื่องจักรซึ่งมีความประณีตงดงามก็ตาม และที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าครูสามารถผลิตสื่อได้เองก็จะเป็นการดี ไม่ต้องรองบประมาณในการจัดซื้อ
ครูปฐมวัยต้องจัดหาและรวบรวมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นครูควรจะทราบถึงแหล่งของวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการที่จะได้สื่อ วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมา
แหล่งสื่อที่ครูสามารถรวบรวมได้ ได้แก่
             1 พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากที่ได้สะสมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้มาก เช่น เขาได้ไปเที่ยวทะเลมาเขาก็สะสมเปลือกหอยต่าง ๆ ไว้ ถ้าทางโรงเรียนได้บอกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ ผู้ปกครองเด็กมีความยินดีที่จะบริจาคให้ หรือผู้ปกครองบางคนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่ เขาอาจจะบริจาคเป็นเงินเพื่อให้ซื้อก็ได้ หรือบางคนอาจจะให้ยืมมาใช้
             2 บุคคลต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ เจ้าของร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน บุคคลเหล่านี้จำนวนมากต้องการช่วยเหลือโรงเรียนอยู่แล้ว ถ้าโรงเรียนแจ้งความจำนง
             3 ซื้อจากร้านค้า ซึ่งอาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าที่เป็นของคุรุสภาหรือของเอกชนทั่ว ๆ ไป
             4 ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทางโรงเรียนอาจจะทำขึ้นมาเอง หรือเชิญคนในชุมชนที่มีความสามารถร่วมกันจัดทำ โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ในการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
ความปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาให้เด็กใช้ต้องปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ เช่น ไม่มีคมที่อาจบาดมือเด็กได้ หรือสีที่ใช้ต้องไม่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เป็นต้น
ความเหมาะสม วัสดุอุปกรณ์ทึ่จัดหามานั้นต้องมีขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กสามารถหยิบใช้ได้เอง นอกจากนั้นยังต้องเหมาะสมกับเรื่องที่สอนด้วย
ราคาถูก ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินซื้อหรือซื้อก็ใช้เงินเพียงเล็กน้อย
สะดวกในการขนย้ายและเก็บรักษา
พยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ต้นไม้ อากาศ ไอน้ำ ฯลฯ
ในสภาพปัจจุบัน โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดซื้อ จัดหาสื่อการสอนและของเล่นเด็กได้ครบถ้วนทุกประการ ทั้งนี้ครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนทักษะ การคิดค้น ประดิษฐ์ สะสมวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ที่พอจะหาได้ในท้องถิ่น เช่น ขวดพลาสติก จุกขวดฝาน้ำอัดลม กระป๋องนม เศษผ้า เศษไม้ กล่องกระดาษ ลังกระดาษ เมล็ดพืช ใบไม้ ดอกไม้ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ หาได้จากเด็ก ๆ ในโรงเรียน เพื่อนครู เพื่อนบ้าน ครูปฐมวัยควรฝึกการชอบสะสมเศษวัสดุเพื่อนำมาผลิตเป็นสื่อ

study notes 11

 26 August 2013


*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในคณะศึกษาศาสตร์*
  
ศึกษาเพิ่นเติม 

สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอนุบาล เริ่มอย่างไรดี
> 5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
         วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย
ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
     ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
   "สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"  
     นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
      สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใดไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ

study notes 10

19August 2013

การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้นักศึกษา นำเสนอการทดลองต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
1.กระดาษกับไม้บล็อก
2.ช็อกสลายตัว
3.ลูกโป่งในขวด
4.ตะเกียบหรรษา
5.อากาศต้องการที่อยู่
6.กระป๋องบุบ


การทดลองของฉันคือ การทดลอง:  ตะเกียบมหัศจรรย์

อุปกรณ์
                                     1.ขวดน้ำพลาสติก 2 ขวด



                                      2.  ข้าวสาร



                                       3.  ตะเกียบ



วิธีการทดลอง

                1. เทเมล็ดข้าวสารลงในขวดที่ 1 อัดเมล็ดข้าวสารให้แน่น นำตะเกียบเสียบลงไปในขวดลึกๆ อาจจะเสียบได้ยาก  จากนั้นยกขวดขึ้น-ลงด้วยตะเกียบอันเดียว





2. เทเมล็ดข้าวสารในขวดที่ 2 ไม่ให้เมล็ดข้าวสารอัดแน่น เพราะว่าทำให้เมล็ดข้าวสาร มีระยะห่าง  หลังจากนั้นเราเสียบตะเกียบลงไป จะเห็นได้ว่าจะเสียบตะเกียบลงได้อย่างง่ายด้าย  และดึงตะเกียบขึ้น

               3. สังเกตว่า ยกได้ไหมและจดบันทึก


ผลการทดลอง
                   ขวดที่ 1 ที่อัดเมล็ดข้าวสารแน่นๆ  เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างเมล็ดข้าวสารและตะเกียบ  มีแรงเสียดทานมากกว่าน้ำหนักของเมล็ดข้าวสารที่อยู่ในขวดเราจึงสามารถที่จะยกขวดข้าวสารขึ้น-ลง ด้วยตะเกียบอันเดียว
                  ขวดที่ 2 ที่ไม่ให้เมล็ดข้าวสารอัดแน่น  เมื่อเราดึงตะเกียบออกมา จะเห็นได้ว่า เนื่องจากแรงเสียดทานระหว่างตะเกียบและเมล็ดข้าวสารมีน้อยมาก   เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักขวด  ข้าวสารที่อยู่ภายในจึงไม่สามารถยกตะเกียบแค่ด้ามเดียว   

 -  อาจารย์ให้คำเสนอแนะ  การนำเสนอ และ การทดลองที่น่าสนใจ
  - กระบวนการเขียนวิธีการสอนการทดลอง มี 4 ขั้นตอน
      1. สมมุติฐาน
      2. ทดลอง
      3. รวบรวมข้อมูล
      4. สรุป

study notes 9

12 August 2013


"ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันแม่แห่งชาติ"




 17  August 2013
 ( เรียนชดเชย วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากหยุด วันแม่ )

- อาจารย์เช็คชื่อ พร้อมสอบถามว่า นักศึกษาคนไหน ทำของเล่นเข้ามุมเสร็จแล้วบ้าง

 - สำหรับนักศึกษา ที่ยังทำของเล่นเข้ามุมไม่เสร็จ อาจารย์ให้จับคู่ 2- 3 คน เพื่อประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม โดย อาจารย์ได้นำกล่องที่ไม่ใช้แล้วหลายขนาด มาแจกให้ กลุ่มละ 1 กล่อง โดยให้นักศึกษาเลือกกล่องขนาดใดก็ได้



-  อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอการทดลอง ที่เตรียมมา
1.ดอกไม้บาน
2. น้ำ มาจากไหน
3.การชั่งน้ำหนักบนดวงจันทร์
4. น้ำไม่ล้น
5.ลูกโป่งลากกระป๋อง
6. เส้นด้ายยกน้ำแข็ง