.

.

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

study notes 5


15 July 2013


การเีรียนการสอน 
- อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอ แผนการทำของเล่นวิทนาศาสตร์
สื่อของเ่ล่นวิทนาศาสตร์ของฉัน 
คอปเตอร์ไม้ติม

อุปกรณ์
1. หลอดชาไข่มุก  
2. ไม้ไอศกรีมเจาะรูตรงกลาง  
3. ไม้เสียบลูกชิ้น  
4 ด้าย  
5. กาว
  6. กรรไกร

วิธีทำ
1. นำไม้เสียบลูกชิ้นเสียบที่รูตรงกลางของไม้ไอศกรีม ทากาวบริเวณรูแล้วตัดปลายไม้ไอศกรีมทิ้ง
2. เจาะรูเล็กๆ บริเวณด้านข้างส่วนบนของหลอดชาไข่มุก
3. นำปลายด้ายผูกติดกับเศษหลอดให้แน่น ปลายอีกข้างหนึ่งสอดเข้าในรูของหลอดรอดออกมาด้านบนของหลอด และนำไปผูกกับส่วนบนของแกนใบพัด(ไม้เสียบลูกชิ้นที่ได้ในข้อ 1) ให้แน่น
4. นำแกนใบพัดสอดเข้าลงในส่วนบนของหลอด
5. หมุนใบพัดให้ด้ายม้วนตัวเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ


วิธีเล่น

   ดึงปลายเชือกที่ผูกไว้กับเศษหลอด เพื่อให้ใบพัดหมุนกลับ ไป-มา

             สื่อชิ้นนี้สอนในเรื่อง     สื่อการเรียนรู้นี้สามารถนำไปใช้ในการสอน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่  แรงดึง-แรงผลัก
แรงดึง   หมายถึง แรงที่มนุษย์  สัตว์หรือวัตถุ ออกแรงเข้าหาตัวเองทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามา
(แกนใบพัดหมุนเข้ามาเมื่อดึงเส้นเชือกเข้ามา)
แรงผลัก หมายถึง  แรงที่มนุษย์ สัตว์หรือวัตถุออกแรงออกจากตัวเอง ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกไป (แกนใบพัดหมุนออกไป เมื่อผ่อนแรงตึงของเส้นเชือก)



อาจารย์ให้ส่งงานสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับคนที่ยังไม่ได้ส่ง
 อาจารย์ได้สอนเรื่อง
    - การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็ก
     - การเล่นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตสำหรับเด็ก
     - การเล่นที่ดีควรให้อิสระในการเล่นแก่เด็ก เพราะเด็กจะเล่นในสิ่งที่เขาสนใจจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเล่นในวิทยาศาสตร์

- เล่นเกิดจากสังเกตุ ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์  โดยผ่านประสาทสัมผัสธ์ทั้ง5
- การเล่นจะมีกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ เป็นลำดับอย่างเห็นได้ชัด ต้องมีการทดลองจริง เห็นได้จริง
- การเล่นจะต้องมีการตั้งเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อให้เป็นมาตราฐานที่แน่นอน และจะต้องตั้งเป็นเพียงเกณฑ์ เดียว ห้ามมากกว่านั้น เพราะจะเกิดความสับสน
- มีการใช้คำถาม ในการเล่นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์

             1. ช่วยให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเด็กได้เห็น ได้ทดลองและได้ทำด้วยตนเอง
             2. ช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกินความสามารถของเด็ก
             3. ช่วยให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจแก่เด็กยิ่งขึ้น อันเป็นเครื่องยั่วยุให้เด็กเกิดความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี
             4. ช่วยให้เด็กเห็นบทเรียนต่อเนื่องกัน เกิดความคิดและเข้าใจได้ง่าย เช่น ดูภาพยนตร์หรือภาพพลิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของแมลง เห็นความเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ
             5. ช่วยให้จัดกิจกรรมให้เด็กร่วมในบทเรียนง่ายเข้า
             6. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานและมากขึ้น
             7. ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนเพราะเด็กเรียนด้วยความสนุกสนานและ
เข้าใจ
     สรุป

             สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย มีหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ของจริง ของจำลอง สถนการณ์จำลอง ภาพ บัตรภาพ ภาพชุด แผนภูมิ หนังสือภาพ หนังสือส่งเสริมการอ่าน โสตทัศนูปกรณ์ การสาธิต การทดลอง นิทาน เพลง เกม และคำคล้องจอง ซึ่งหาได้จากท้องถิ่นและแหล่งต่าง ๆ รอบตัว หรือสามารถผลิตขึ้นใช้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัยที่การใช้สื่อการสอนมีความสำคัญและจำเป็นมากในการจัดประสบการณ์ เพื่อให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรม เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นครูควรเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม โดยควรเลือกใช้สื่อที่เป็นของจริง หรือสื่อมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก เพื่อเป็นการประหยัด และก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น