24 June 2013
การเรียนการสอน
วันนี้คุณครูให้แบ่งกลุ่มๆ ละ 6 คน
แล้วให้อ่านหัวข้อสำคัญๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
โดยให้เวลาในการอ่าน 5 นาที
แล้วสรุปออกมาตามความเข้าใจของนักศึกษา เป็นคำพูดของตนเอง เช่น
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ พัฒนาการทางสติปัญญา กระบวนการปฏิสัมพันธ์
การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความหมายของวิทยาศาสตร์
จากนั้นคุณครูก็แบ่งหนึ่งหัวข้อต่อหนึ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มนำไปศึกษาทำความเข้าใจ
จากนั้นก็ให้นำเรื่องที่ได้ ไปแลกเปลี่ยนหรือเล่าให้เพื่อนๆในกลุ่มอื่นฟัง
และก็ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำไปเล่า
ว่าเพื่อนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เรานำเสนอยังไง เมื่อแลกเปลี่ยนความรู้เวียนกันไปจนครบทุกกลุ่มแล้ว
คุณครูก็ให้แต่ละกลุ่มสรุปถึงความเหมือน และความแตกต่าง ระหว่างความคิดเห็น
ของเพื่อนๆ กับประเด็นต่างๆออกมา โดยเลือกว่าจะนำเสนอด้วยเครื่องมือชนิดใด
รูปแบบใด แล้วก็ให้ส่งตัวแทนของกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ต่อจากการนำเสนอดังกล่าวจบไป คุณครูก็ให้ดูวีดีโอเกี่ยวกับน้ำ
แล้วให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นออกมาว่า หลังจากที่ได้ดูวีดีโอแล้ว
ได้รับความรู้อะไรบ้าง มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ
และดูแล้วสามารถนำไปต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ได้อย่างไรกับเด็กปฐมวัย
เนื้อหา
ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการ ดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ
ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า
ความรู้
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ 3
– 6 ขวบ มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา เคมี
กลศาสตร์ แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ
สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้
การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ 2
– 6 ขวบ ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ (pre – operative stage)
เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง (self - centered) และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง
เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน เช่น
รู้สี รู้รูปร่าง
การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา
สตาเคิล (Dina Stachel)
ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น
เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4
หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542
: 12)
หน่วยที่ 1
การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2
การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3
รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4
การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่ 1
ถึงขั้นที่ 5 ดังนี้
ขั้นที่ 1
กำหนดขอบเขตของปัญหา
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน
เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
ขั้นที่ 2
ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน
ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
ขั้นที่ 3
ทดลองและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2
ขั้นที่ 4
วิเคราะห์ข้อมูล
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
เช่น
ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
ขั้นที่ 5
สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน
ว่าผลที่เกิดคืออะไร
เพราะอะไร ทำไม ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่ 1
ใหม่
แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่ 5 เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น
เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร
ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต
การจำแนกและเปรียบเทียบ
การวัด การสื่อสาร การทดลอง
การสรุปและการนำไปใช้ (Brewer, 1995
: 288 - 290)
การสังเกต
ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น
เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู
เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส
กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
การจำแนกเปรียบเทียบ
การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล
ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ ถ้าเด็กเล็กมาก เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้ การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
การวัด
การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร
เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้ สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก
เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่
เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
การทดลอง เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด เช่น
การรื้อค้น การกระแทก การทุบ
การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก
แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี มีการสังเกตอย่างมีความหมาย เช่น
การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน เด็กจะสังเกตเห็นสีสด สีจาง
ต่างกัน
การสรุปและการนำไปใช้
เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด
มีผลอย่างไร
แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ
เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น
การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
เด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ในแง่ของทักษะพื้นฐาน กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เป้าหมายสำคัญของการเรียน คือ (Brewer, 1995
: 290)
1. ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง
ๆ และปรากฏการณ์ที่มี
2. ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
3. กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ
และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ
4. ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธกับชีวิต ประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนเพื่อสร้างเสริมนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบ และศึกษาสิ่งต่าง ๆ
ด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก (ประสาท
เนืองเฉลิม, 2545 : 20 -
26) ในขณะเดียวกัน
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่เด็กได้สัมผัสด้วย
สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน
ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง
ๆ ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว ดังนี้
1. สาระเกี่ยวกับพืช ได้แก่
พืช เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่ ต้นไม้
ดอกไม้ ผลไม้ การปลูกพืช
การใช้ประโยชน์จากพืช
2. สาระเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่
ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์ การเลี้ยงสัตว์
3. สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น
การจม การลอย ความร้อน
ความเย็น
4. สาระเกี่ยวกับเคมี ได้แก่
รสผลไม้ การละลายของน้ำแข็ง
5.สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา ไ ด้แก่
ดิน ทราย หิน
ภูเขา
6. สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ได้แก่
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาว
ฤดูกาล
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช
2546
ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร
เรียกว่า ธรรมชาติรอบตัว โดยกำหนดให้เด็กเรียน สิ่งมีชีวิต
สิ่งไม่มีชีวิต
รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น
ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน
ฯลฯ
ทักษะที่ได้จากการเรียน
ได้ฝึกทักษะในการอ่านหนังสือแบบรวดเร็ว ฝึกการอ่านจับใจความ
สรุปข้อมูลที่อ่านออกมาตามความเข้าใจ ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ และได้ทำงานเป็นกลุ่มหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น
นอกจากนี้ก็รู้สึกสนุก เพลิดเพลินไปกับการดูวีซีดีที่เกี่ยวกับเรื่องน้ำด้วยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น