.

.

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

study notes 3


1 July 2013


การเรียนการสอน
ความหมาย ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ "คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำราคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆปัจจุบันนี้คณิตศาสตร์ได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากเราจะพบว่าทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่จะใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาในชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น การอ่านราคาสินค้า การซี้อขายสินค้าการบอกเวลา เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสฅร์ให้ดี และฐานต้องยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณิตศาสตร์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ปกครองและครูให้ความสนใจ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา การเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงจำเป็นต้องเริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์เหมือนกับการเรียนภาษาพูด ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดที่เราต้องทำให้เด็กเข้าใจให้ได้ มิใช่ทำให้เด็กจดจำตัวเลขให้ได้ ด้วยการท่อง 1- 10 หรือเขียนตัวเลขได้ การทำซ้ำๆ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัว ของจริง ลองนับ จับคู่จำนวนกับตัวเลข ทำบ่อยๆ จนเกิดความแม่นยำ จะจดจำได้นาน เมื่อเด็กเข้าใจจำนวนและตัวเลขแล้วจึงค่อยเสนอกฏเกณฑ์ที่ใช้กับตัวเลขเหล่านั้นโยงให้เห็นความหมายระหว่างตัวเลข เครื่องหมาย ที่แทนจำนวน ปริมาณที่มีอยู่ และเปลี่ยนไป กฏเกณฑ์นี้ต้องค่อย ๆ ไต่ไปตามลำดับ จากง่ายไปสู่ซับซ้อน การทำซ้ำ ทำให้เกิดวงจรในสมอง จนเกิดความแม่นยำ ทำให้มีความเข้าใจในกระบวนการของคณิตศาสตร์ชัดเจนเด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่ายทำอย่างไรให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก ซึ่งแน่นอน อะไรที่สนุก เด็กต้องชอบ ดังนั้นความสนุกจึงเป็นแรงจูงใจที่วิเศษ การเรียนรู้คณิตศาสตร์จากเกม ปริศนาต่างๆ ที่ท้าทาย และไม่ยากเกินวัยเด็ก สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน มองเห็นจากของจริง เด็กจะเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ การเรียนรู้ บนพื้นฐานของอารมณ์ที่สนุกและชอบ...
- ความสำคัญ


          ความสำคัญของคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

          การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มคณิตศาสตร์ ผู้เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ กระบวนการเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมทั้งวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน มีความสามารถในการคิดในใจ ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มศักยภาพการจัดเนื้อหาสาระให้แก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงความยากง่าย ความต่อเนื่อง ลำดับขั้นตอนของเนื้อหา รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้และทักษะกระบวนการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ได้ทั้งทางคณิตศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การเชื่อมโยงความรู้ และการเสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้น ทำได้หลายวิธี และต้องคำนึงถึงลำดับขั้นของการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยในการรักในการศึกษาและแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง- การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และมีความรู้ทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็น ทั้งนี้ ควรให้การสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนให้เป็นไปอย่างมีศักยภาพ- การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา สถานที่ ควรมีการ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคณิตศาสตร์ เช่น สถานศึกษา โรงเรียน บ้าน สมาคม ชมรม ชุมนุม ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนคณิตศาสตร์สร้างสรรค์ ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ หรือห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์

          จากความสำคัญของคณิตศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่าคณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้



แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

  -การเปลี่ยนแปลง

  -ความแตกต่าง

 -การปรับตัว

 - การพึ่งพาอาศัย
 - ความสมดุล
 - วิธีการทางวิทยาศาสตร์
 พัฒนาการทางสติปัญญา
การเจริญงอกงามของความคิดความฉลาด
 - พัฒนาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 - กระบวนการเกิดขึ้นตลอดเวลา
 - กระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 - กระบวนการปฏิสัมพันธ์
 ขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญา
  -ขั้นประสาทสัมผัส ( Sensory moter ) แรกเกิด - 2 ปี
  - ขั้นก่อนปฏิบัติการ ( Pre - operate )2 - 6 ปี แบ่งเป็น 2-4 ปี / 4-6 ปี
การเรียนรู้
 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรม
     - เส้นใยสมองเชื่อมโยงกัน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


          ทักษะการสังเกต
                ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น
นอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ




อาจารย์และนักศึกษา ร่วมกันสรุปประเด็นเรื่อง อากาศ




ให้นักศึกษา ดู vdo เรื่อง ความลับของ แสง
 -ทางเดินของแสง
 -สมบัติของแสง
แสงและการมองเห็น
--การหักเหของแสง
-ลักษณะของแสง
- พลังงานแสง















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น