.

.

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

study notes 5


15 July 2013


การเีรียนการสอน 
- อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอ แผนการทำของเล่นวิทนาศาสตร์
สื่อของเ่ล่นวิทนาศาสตร์ของฉัน 
คอปเตอร์ไม้ติม

อุปกรณ์
1. หลอดชาไข่มุก  
2. ไม้ไอศกรีมเจาะรูตรงกลาง  
3. ไม้เสียบลูกชิ้น  
4 ด้าย  
5. กาว
  6. กรรไกร

วิธีทำ
1. นำไม้เสียบลูกชิ้นเสียบที่รูตรงกลางของไม้ไอศกรีม ทากาวบริเวณรูแล้วตัดปลายไม้ไอศกรีมทิ้ง
2. เจาะรูเล็กๆ บริเวณด้านข้างส่วนบนของหลอดชาไข่มุก
3. นำปลายด้ายผูกติดกับเศษหลอดให้แน่น ปลายอีกข้างหนึ่งสอดเข้าในรูของหลอดรอดออกมาด้านบนของหลอด และนำไปผูกกับส่วนบนของแกนใบพัด(ไม้เสียบลูกชิ้นที่ได้ในข้อ 1) ให้แน่น
4. นำแกนใบพัดสอดเข้าลงในส่วนบนของหลอด
5. หมุนใบพัดให้ด้ายม้วนตัวเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ


วิธีเล่น

   ดึงปลายเชือกที่ผูกไว้กับเศษหลอด เพื่อให้ใบพัดหมุนกลับ ไป-มา

             สื่อชิ้นนี้สอนในเรื่อง     สื่อการเรียนรู้นี้สามารถนำไปใช้ในการสอน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่  แรงดึง-แรงผลัก
แรงดึง   หมายถึง แรงที่มนุษย์  สัตว์หรือวัตถุ ออกแรงเข้าหาตัวเองทำให้วัตถุเคลื่อนที่เข้ามา
(แกนใบพัดหมุนเข้ามาเมื่อดึงเส้นเชือกเข้ามา)
แรงผลัก หมายถึง  แรงที่มนุษย์ สัตว์หรือวัตถุออกแรงออกจากตัวเอง ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ออกไป (แกนใบพัดหมุนออกไป เมื่อผ่อนแรงตึงของเส้นเชือก)



อาจารย์ให้ส่งงานสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับคนที่ยังไม่ได้ส่ง
 อาจารย์ได้สอนเรื่อง
    - การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็ก
     - การเล่นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตสำหรับเด็ก
     - การเล่นที่ดีควรให้อิสระในการเล่นแก่เด็ก เพราะเด็กจะเล่นในสิ่งที่เขาสนใจจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเล่นในวิทยาศาสตร์

- เล่นเกิดจากสังเกตุ ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์  โดยผ่านประสาทสัมผัสธ์ทั้ง5
- การเล่นจะมีกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ เป็นลำดับอย่างเห็นได้ชัด ต้องมีการทดลองจริง เห็นได้จริง
- การเล่นจะต้องมีการตั้งเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อให้เป็นมาตราฐานที่แน่นอน และจะต้องตั้งเป็นเพียงเกณฑ์ เดียว ห้ามมากกว่านั้น เพราะจะเกิดความสับสน
- มีการใช้คำถาม ในการเล่นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์

             1. ช่วยให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเด็กได้เห็น ได้ทดลองและได้ทำด้วยตนเอง
             2. ช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกินความสามารถของเด็ก
             3. ช่วยให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจแก่เด็กยิ่งขึ้น อันเป็นเครื่องยั่วยุให้เด็กเกิดความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี
             4. ช่วยให้เด็กเห็นบทเรียนต่อเนื่องกัน เกิดความคิดและเข้าใจได้ง่าย เช่น ดูภาพยนตร์หรือภาพพลิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของแมลง เห็นความเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ
             5. ช่วยให้จัดกิจกรรมให้เด็กร่วมในบทเรียนง่ายเข้า
             6. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานและมากขึ้น
             7. ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนเพราะเด็กเรียนด้วยความสนุกสนานและ
เข้าใจ
     สรุป

             สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย มีหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ของจริง ของจำลอง สถนการณ์จำลอง ภาพ บัตรภาพ ภาพชุด แผนภูมิ หนังสือภาพ หนังสือส่งเสริมการอ่าน โสตทัศนูปกรณ์ การสาธิต การทดลอง นิทาน เพลง เกม และคำคล้องจอง ซึ่งหาได้จากท้องถิ่นและแหล่งต่าง ๆ รอบตัว หรือสามารถผลิตขึ้นใช้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัยที่การใช้สื่อการสอนมีความสำคัญและจำเป็นมากในการจัดประสบการณ์ เพื่อให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรม เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นครูควรเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม โดยควรเลือกใช้สื่อที่เป็นของจริง หรือสื่อมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็ก เพื่อเป็นการประหยัด และก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ




วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

study notes 4


8 July 2013


อาจารย์ ให้นักศึกษา สังเกตสื่อ ก่อนเข้าบทเรียน
- สังเกตสื่อ เรื่องขวดน้ำ แรงดันอากาศ

อาจารย์ ให้นักศึกษา ทำกิจกรรม กระดาษกับภาพเคลื่อนไหว และ ภาพซ้อน
-  ให้นักศึกษา ทำภาพเคลื่อนไหว และ ภาพซ้อน ขึ้นมาใหม่ แล้วนำมาส่ง ในอาทิตย์หน้า
- อาจารย์ให้นักศึกษา ดู vdo  เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ

สรุปเรื่องน้ำ

น้ำ คือ น้ำหมายถึง ของเหลวเกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนในภาวะที่เหมาะสมหรือความหมายในลักษณะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้อุปโภค บริโภค ชำระล้างร่างกาย ใช้ในการเพาะปลูก การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ การผลิตพลังงาน ทรัพยากรน้ำยังเป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นทดแทนอยู่ตลอดเวลาเป็นวัฎจักร
ความสำคัญของแหล่งน้ำ
        น้ำ   จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และรักษาสมดุล ของระบบนิเวศ

คุณสมบัติของน้ำ

        น้ำจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารต่างๆ ที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำการที่มีสารต่าง ๆ ละลายปะปนอยู่ในน้ำ คุณสมบัติของน้ำมีรายละเอียดดังนี้

   1. คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำ   คือ ลักษณะทางภายนอกที่แตกต่างกัน เช่นความใส ความขุ่น กลิ่น สี เป็นต้น

     - อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิของน้ำมีผลในด้านการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งจะส่งผลต่อการลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ
      สี (color) สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนแสงของสารแขวนลอยในน้ำ เช่น น้ำตามธรรมชาติจะมีสีเหลืองซึ่งเกิดจากกรดอินทรีย์ น้ำในแหล่งน้ำที่มีใบไม้ทับถมจะมีสีน้ำตาล หรือถ้ามีตะไคร่น้ำก็จะมีสีเขียว
    - กลิ่นและรส    กลิ่นและรสของน้ำจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยหรือสารในกลุ่มของฟีนอล เกลือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งจะทำให้น้ำมีรสกร่อยหรือเค็ม
    - ความขุ่น (turbidity) เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น ดิน ซากพืช ซากสัตว์
    - การนำไฟฟ้า (electical conductivity) บอกถึงความสามารถของน้ำที่กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของอิออนโดยรวมในน้ำ และอุณหภูมิขณะทำการวัดค่าการนำไฟฟ้า
    - ของแข็งทั้งหมด (total solid: TS) คือ ปริมาณของแข็งในน้ำ สามารถคำนวณจากการระเหยน้ำออก ได้แก่ ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids: TDS) จะมีขนาดเล็กผ่านขนาดกรองมาตรฐาน คำนวณได้จากการระเหยน้ำที่กรองผ่านกระดาษกรองออกไป ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids: SS) หมายถึง ของแข็งที่อยู่บนกระดาษกรองมาตรฐานหลังจากการกรอง แล้วนำมาอบเพื่อระเหยน้ำออก ของแข็งระเหยง่าย (Volatile Solids: VS) หมายถึง ส่วนของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์แต่ละลายน้ำ สามารถคำนวณได้โดยการนำกระดาษกรองวิเคราะห์เอาของแข็งที่แขวนลอยออก แล้วนำของแข็งส่วนที่ละลายทั้งหมดมาระเหยอุณหภูมิประมาณ 550 องศาเซลเซียส นำน้ำหนักน้ำที่ชั่งหลังการกรองลบด้วยน้ำหนักหลังจากการเผา น้ำหนักที่ได้คือ ของแข็งส่วนที่ระเหยไป

สรุป เรื่องน้ำร่วมกัน

 ทำไมเรือไม่จม...
           
= ค่าความหนาเเน่นของเรือมีน้อยกว่าน้ำ ถ้าค่าความหนาเเน่นของน้ำเป็น 1 เเต่เรือมี่ค่าความหนาเเน่นไม่ถึง 1 หรือมี 0.00001
แรงตึงผิวใช้ในชีวิต
       =  สารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์ที่มีฟอง เป็นต้น

 =  สารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางและครีมกันแดด
 =  สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ ผลิตยา
 = สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น กระบวนการย้อมผ้า การเคลือบสีไม้หรือโลหะ การผลิตพลาสติก การทำหนังสัตว์ การผลิตเนยเทียม  เค้กและไอศกรีม เป็นต้น
 =  สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น บำบัดน้ำเสีย กำจัดมลพิษทางดิน ดูดซับของเสีย เป็นต้น
 =   สารลดแรงตึงผิวถูกนำมาใช้ในกระบวนการสกัดแยก เช่น การสกัดแยกแร่   การแยกน้ำมัน ออกจากน้ำ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการนำสารลดแรงตึงผิวมาใช้ในเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น นาโนเทคโนโลยี  เทคโนโลยีชีวภาพ   งานพิมพ์อิเล็คทรอนิกส์  และเครื่องบันทึกแถบแม่เหล็ก เป็นต้น

แรงดันอากาศใช้ในชีวิต
      = ใช้สร้างเขื่อน
            = ใช้ในการพยากรณ์การอากาศ
            = ผลิตน้ำอัดลม
            = ใช้ในการเทคานสร้างบ้าน
            = ทำบอลลูน หรือ โปงสวรรค์
            = โฮเวอร์คราฟท์
            = ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า

งานที่อาจารย์สั่ง

     - อาทิตย์หน้า นำเสนอ แผนการทำของเล่น
     -ค้นหา WAP ที่แนะนำการทำสื่อ
     -เก็บใบไม้ มาทับไว้ให้แห้ง
     - ค้นคว้า เพิ่มเติมจาก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์





วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

study notes 3


1 July 2013


การเรียนการสอน
ความหมาย ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ "คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำราคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆปัจจุบันนี้คณิตศาสตร์ได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากเราจะพบว่าทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่จะใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาในชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น การอ่านราคาสินค้า การซี้อขายสินค้าการบอกเวลา เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสฅร์ให้ดี และฐานต้องยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณิตศาสตร์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ปกครองและครูให้ความสนใจ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา การเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงจำเป็นต้องเริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์เหมือนกับการเรียนภาษาพูด ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดที่เราต้องทำให้เด็กเข้าใจให้ได้ มิใช่ทำให้เด็กจดจำตัวเลขให้ได้ ด้วยการท่อง 1- 10 หรือเขียนตัวเลขได้ การทำซ้ำๆ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัว ของจริง ลองนับ จับคู่จำนวนกับตัวเลข ทำบ่อยๆ จนเกิดความแม่นยำ จะจดจำได้นาน เมื่อเด็กเข้าใจจำนวนและตัวเลขแล้วจึงค่อยเสนอกฏเกณฑ์ที่ใช้กับตัวเลขเหล่านั้นโยงให้เห็นความหมายระหว่างตัวเลข เครื่องหมาย ที่แทนจำนวน ปริมาณที่มีอยู่ และเปลี่ยนไป กฏเกณฑ์นี้ต้องค่อย ๆ ไต่ไปตามลำดับ จากง่ายไปสู่ซับซ้อน การทำซ้ำ ทำให้เกิดวงจรในสมอง จนเกิดความแม่นยำ ทำให้มีความเข้าใจในกระบวนการของคณิตศาสตร์ชัดเจนเด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่ายทำอย่างไรให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก ซึ่งแน่นอน อะไรที่สนุก เด็กต้องชอบ ดังนั้นความสนุกจึงเป็นแรงจูงใจที่วิเศษ การเรียนรู้คณิตศาสตร์จากเกม ปริศนาต่างๆ ที่ท้าทาย และไม่ยากเกินวัยเด็ก สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน มองเห็นจากของจริง เด็กจะเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ การเรียนรู้ บนพื้นฐานของอารมณ์ที่สนุกและชอบ...
- ความสำคัญ


          ความสำคัญของคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

          การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มคณิตศาสตร์ ผู้เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ กระบวนการเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมทั้งวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน มีความสามารถในการคิดในใจ ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มศักยภาพการจัดเนื้อหาสาระให้แก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงความยากง่าย ความต่อเนื่อง ลำดับขั้นตอนของเนื้อหา รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้และทักษะกระบวนการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ได้ทั้งทางคณิตศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การเชื่อมโยงความรู้ และการเสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้น ทำได้หลายวิธี และต้องคำนึงถึงลำดับขั้นของการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยในการรักในการศึกษาและแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง- การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และมีความรู้ทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็น ทั้งนี้ ควรให้การสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนให้เป็นไปอย่างมีศักยภาพ- การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา สถานที่ ควรมีการ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคณิตศาสตร์ เช่น สถานศึกษา โรงเรียน บ้าน สมาคม ชมรม ชุมนุม ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนคณิตศาสตร์สร้างสรรค์ ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ หรือห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์

          จากความสำคัญของคณิตศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่าคณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้



แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

  -การเปลี่ยนแปลง

  -ความแตกต่าง

 -การปรับตัว

 - การพึ่งพาอาศัย
 - ความสมดุล
 - วิธีการทางวิทยาศาสตร์
 พัฒนาการทางสติปัญญา
การเจริญงอกงามของความคิดความฉลาด
 - พัฒนาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 - กระบวนการเกิดขึ้นตลอดเวลา
 - กระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 - กระบวนการปฏิสัมพันธ์
 ขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญา
  -ขั้นประสาทสัมผัส ( Sensory moter ) แรกเกิด - 2 ปี
  - ขั้นก่อนปฏิบัติการ ( Pre - operate )2 - 6 ปี แบ่งเป็น 2-4 ปี / 4-6 ปี
การเรียนรู้
 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรม
     - เส้นใยสมองเชื่อมโยงกัน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


          ทักษะการสังเกต
                ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น
นอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ




อาจารย์และนักศึกษา ร่วมกันสรุปประเด็นเรื่อง อากาศ




ให้นักศึกษา ดู vdo เรื่อง ความลับของ แสง
 -ทางเดินของแสง
 -สมบัติของแสง
แสงและการมองเห็น
--การหักเหของแสง
-ลักษณะของแสง
- พลังงานแสง















วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

study notes 2


24  June  2013

การเรียนการสอน



            วันนี้คุณครูให้แบ่งกลุ่มๆ ละ 6 คน แล้วให้อ่านหัวข้อสำคัญๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  โดยให้เวลาในการอ่าน 5 นาที แล้วสรุปออกมาตามความเข้าใจของนักศึกษา เป็นคำพูดของตนเอง เช่น ความสำคัญของวิทยาศาสตร์  พัฒนาการทางสติปัญญา  กระบวนการปฏิสัมพันธ์  การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม  แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ความหมายของวิทยาศาสตร์ 
             จากนั้นคุณครูก็แบ่งหนึ่งหัวข้อต่อหนึ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มนำไปศึกษาทำความเข้าใจ จากนั้นก็ให้นำเรื่องที่ได้ ไปแลกเปลี่ยนหรือเล่าให้เพื่อนๆในกลุ่มอื่นฟัง และก็ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่นำไปเล่า ว่าเพื่อนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เรานำเสนอยังไง  เมื่อแลกเปลี่ยนความรู้เวียนกันไปจนครบทุกกลุ่มแล้ว คุณครูก็ให้แต่ละกลุ่มสรุปถึงความเหมือน และความแตกต่าง ระหว่างความคิดเห็น ของเพื่อนๆ กับประเด็นต่างๆออกมา โดยเลือกว่าจะนำเสนอด้วยเครื่องมือชนิดใด รูปแบบใด แล้วก็ให้ส่งตัวแทนของกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
               ต่อจากการนำเสนอดังกล่าวจบไป คุณครูก็ให้ดูวีดีโอเกี่ยวกับน้ำ แล้วให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นออกมาว่า หลังจากที่ได้ดูวีดีโอแล้ว ได้รับความรู้อะไรบ้าง มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ และดูแล้วสามารถนำไปต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ได้อย่างไรกับเด็กปฐมวัย

เนื้อหา

ความหมายของวิทยาศาสตร์

          วิทยาศาสตร์  หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการ ดังกล่าว   การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้
 การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

         วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง
            การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง
            การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)
                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)
                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
             การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน
                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
 เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์

             เด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ในแง่ของทักษะพื้นฐาน  กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้น  เป้าหมายสำคัญของการเรียน  คือ  (Brewer,  1995  :  290)
                1.  ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ  และปรากฏการณ์ที่มี
                2.  ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
                3.  กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ
                4.  ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธกับชีวิต ประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
                การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนเพื่อสร้างเสริมนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ  ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบ  และศึกษาสิ่งต่าง ๆ  ด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้  และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก  (ประสาท  เนืองเฉลิม,  2545  :  20 - 26)  ในขณะเดียวกัน  กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่เด็กได้สัมผัสด้วย
 สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน

                ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และสาระวิทยาศาสตร์  ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ดังนี้
                1.  สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
               2.  สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
               3.  สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
               4.  สาระเกี่ยวกับเคมี  ได้แก่  รสผลไม้  การละลายของน้ำแข็ง
               5.สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา ด้แก่  ดิน  ทราย  หิน  ภูเขา
               6.  สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร  เรียกว่า  ธรรมชาติรอบตัว  โดยกำหนดให้เด็กเรียน  สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ
ทักษะที่ได้จากการเรียน

              ได้ฝึกทักษะในการอ่านหนังสือแบบรวดเร็ว ฝึกการอ่านจับใจความ สรุปข้อมูลที่อ่านออกมาตามความเข้าใจ ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์  และได้ทำงานเป็นกลุ่มหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น นอกจากนี้ก็รู้สึกสนุก เพลิดเพลินไปกับการดูวีซีดีที่เกี่ยวกับเรื่องน้ำด้วยค่ะ